วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553

นารากร ติยายน

0 ความคิดเห็น
นารากร ติยายน
ชื่อเล่น ต๊ะ
เกิด 1 พฤษจิกายน
E-mail สำหรับคนนอกติดต่อ tanarakorn@gmail.com
การศึกษา (ตั้งแต่อนุบาล ถ้าจำได้) 2529 - 2533 วิทยาศาสตร์บัณฑิต (เกษตรศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , 2534 - 2536 นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต (นิเทศาสตร์พัฒนาการ) จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย , 533 - 2538 วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (ส่งเสริมการเกษตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คติที่ใช้ดำเนินชีวิต ชีวิตที่แน่นอน คือ การทำความดี
งานอดิเรก (กิจกรรม) อ่านหนังสือ เลี้ยงสัตว์
ประวัติการทำงาน 2535 - 2538 พิธีกรนอกสนาม รายการ "มาตามนัด" ททบ.5, 2539 - 2543 ผู้ประกาศข่าวภาคค่ำ / ภาคเที่ยง/เกาะติดข่าว สถานีโทรทัศน์ ITV, 2544 - 2546 ผู้ประกาศข่าว "เรื่องเด่นเย็นนี้" /พิธีกรรายการ "เหตุบ้านการเมือง" ช่อง 3, 2543 - 2548 พิธีกรรายการ "เจาะใจ" ททบ.5, 2547 - 2550 ผู้ประกาศข่าวภาคค่ำ / พิธีกรรายการข่าวเช้า ITV สถานีโทรทัศน์ ITV, 2550 - ม.ค. 2551 ผู้ดำเนินรายการ HOT NEWS ทาง TITV, 2550 พิธีกรรายการ "ขบวนการแก้โกง" Modern nine TV, ปัจจุบัน ผู้ประกาศข่าวภาคค่ำช่วงที่ 1 ช่อง 7 , พิธีกรรายการ "เจาะเกาะติด" ช่อง 7 , ผู้ดำเนินรายการวิทยุ "จับประเด็นข่าวเช้านี้" FM 101 MHz
ธุรกิจส่วนตัว
ร้านดอกไม้ แดนซิ่ง ฟลาวเวอร์ (Dancing Flowers) ย่านทาวน์อินทาวน์
ร้านหมูกะทะ ABC จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งลูกค้าได้เป็นคนเอาใจมาตลอด

นารากร ติยายน ผู้ประกาศข่าวที่โด่งดังจากสถานีโทรทัศน์ไอทีวีต่อมาก็ได้ไปอยู่ที่ช่อง 3 และถือว่าเป็นบุคคลสุดท้าย ที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี เนื่องจากเป็นผู้กล่าวอำลาการออกอากาศ ก่อนจะเปลี่ยนแปลงมาเป็นสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ต่อมาเป็นผู้ดำเนินรายการ (พิธีกร) ในหลายรายการ เป็นผู้ประกาศข่าวช่อง 7 สี และเป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายข่าวของบริษัทมีเดียส์ ออฟ มีเดีย จำกัด (มหาชน)

วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553

พยงค์ มุกดา

1 ความคิดเห็น

นาวาตรีพยงค์ มุกดาพันธ์ หรือ ครูพยงค์ มุกดา (4 พฤษภาคม พ.ศ. 246912 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553) นักร้อง นักแสดง นักแต่งเพลง ที่มีชื่อเสียงจากการเป็นนักแต่งเพลงเป็นจำนวนมาก ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติประจำปี พ.ศ. 2534 และได้รับรางวัลนราธิป ประจำปี พ.ศ. 2550

ครูพยงค์ มุกดา หรือ นาวาตรี พยงค์ มุกดาเกิดเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2469 มีชื่อเสียงจากประพันธ์บทเพลงโด่งดังจำนวนมาก ได้รับเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ ประจำ พ.ศ. 2534 และได้รับรางวัลนราธิปประจำปี พ.ศ.2550

ครูพยงค์ มุกดา เป็นชาวราชบุรี บุตรนายแก้ว และนางบุญ มุกดา เกิดบนเรือกลางแม่น้ำแม่กลอง บริเวณตำบลท่าเสา ราชบุรี จบชั้น ป.4 โรงเรียนเทศบาลวัดราชนัดดาราม และเข้าสู่วงการจากการเป็นนักร้องวงดุริยางค์กองทัพบก โดยการสนับสนุนของครูจำปา เล้มสำราญ

ต่อมา ตั้งวงดนตรีชื่อ "วงพยงค์ มุกดา" ต่อมาได้รับพระราชทานชื่อ "วงมุกดาพันธ์" ครูพยงค์ มุกดา เคยเป็นนักร้อง นักแสดง นักจัดรายการวิทยุ เคยแสดงภาพยนตร์ เช่นเรื่อง เสน่ห์บางกอก, ไซอิ๋ว เคยอยู่ วงดุริยางค์กองทัพเรือ ผู้ประพันธ์เพลงมาร์ช สหมาร์ชราชนาวี, มาร์ชสามัคคีสี่เหล่า, นาวีบลู

ในฐานะนักแต่งเพลง ครูพยงค์ มุกดา มีผลงานทั้งเพลงลูกทุ่ง ลูกกรุง และเพลงมาร์ช ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานจากเพลง "นกขมิ้น" ขับร้องโดย ธานินทร์ อินทรเทพ "ช่อทิพย์รวงทอง" ขับร้องโดย สมยศ ทัศนพันธ์ "นางรอง" และ "รักใครไม่เท่าน้อง" ขับร้องโดย ทูล ทองใจ "ลูกนอกกฎหมาย" ขับร้องโดยศรีสอางค์ ตรีเนตร "รอพี่กลับเมืองเหนือ" ขับร้องโดยพรทิพย์ภา บูรณกิจบำรุง "เด็ดดอกรัก" ขับร้องโดย ชรินทร์ นันทนาคร และ "ฝั่งหัวใจ" ขับร้องโดย บุษยา รังสี

พยงค์ มุกดา เป็นชาวจังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของนายแก้ว และนางบุญ มุกดา เกิดบนเรือกลางแม่น้ำแม่กลองบริเวณตำบลท่าเสา จังหวัดราชบุรี จบชั้น ป.4 จากโรงเรียนเทศบาลวัดราชนัดดาราม และเข้าสู่วงการจากการเป็นนักร้องวงดุริยางค์กองทัพบก โดยการสนับสนุนของครูจำปา เล้มสำราญ ต่อมาจึงก่อตั้งวงดนตรีเป็นของตัวเองชื่อ วงพยงค์ มุกดา ซึ่งได้รับพระราชทานชื่อว่า "วงมุกดาพันธ์" และเป็นนามสกุลพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชอีกด้วย

ครูพยงค์ มุกดา มีผลงานออกมาเป็นจำนวนมาก เคนเป็นนักร้อง นักแสดง นักจัดรายการวิทยุ เคยแสดงภาพยนตร์เช่นเรื่อง เสน่ห์บางกอก, ไซอิ๋ว เคยอยู่วงดุริยางค์กองทัพเรือเป็นผู้ประพันธ์เพลงมาร์ช เช่น "สหมาร์ชราชนาวี", "มาร์ชสามัคคีสี่เหล่า", นาวีบลู

ในฐานะนักแต่งเพลง ครูพยงค์ มุกดา มีผลงานทั้งเพลงลูกทุ่ง ลูกกรุง และเพลงมาร์ช ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานจากเพลง "นกขมิ้น" (ขับร้องโดย ธานินทร์ อินทรเทพ) "ช่อทิพย์รวงทอง" (ขับร้องโดย สมยศ ทัศนพันธ์) "นางรอง" และ "รักใครไม่เท่าน้อง" (ขับร้องโดย ทูล ทองใจ) "ลูกนอกกฎหมาย" (ขับร้องโดย ศรีสอางค์ ตรีเนตร) "รอพี่กลับเมืองเหนือ" (ขับร้องโดย พรทิพย์ภา บูรกิจบำรุง) "เด็ดดอกรัก" (ขับร้องโดย ชรินทร์ นันทนาคร) และ "ฝั่งหัวใจ" ขับร้องโดย บุษยา รังสี)

ในปี พ.ศ. 2532 ครูพยงค์ ได้รับรางวัลพระราชทานในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย 2 รางวัล จากเพลง "สาวสวนแตง" (ขับร้องโดย สุรพล สมบัติเจริญ) และ "ล่องใต้" (ขับร้องโดย ชัยชนะ บุญนะโชติ) และในปี พ.ศ. 2534 ได้รับรางวัลพระราชทาน 3 รางวัล จากเพลง "ยอยศพระลอ" (ขับร้องโดย ชินกร ไกรลาศ) "น้ำตาสาวตก" (ขับร้องโดย ศรีสอางค์ ตรีเนตร) และ "ลูกทุ่งเสียงทอง" (ขับร้องโดย เพชร พนมรุ้ง)

ในปี พ.ศ. 2534 พยงค์ มุกดา ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ประพันธ์เพลงไทยสากล-เพลงลูกทุ่ง) นอกจากนี้ ลูกศิษย์ของท่านถึง 2 คน ก็ได้รับเชิดชูเป็นศิลปินแห่งชาติ เช่นกัน คือชัยชนะ บุญนะโชติ (พ.ศ. 2541) และ ชินกร ไกรลาศ (พ.ศ. 2542)

ในปี พ.ศ. 2551 ครูพยงค์ มุกดา ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินอาวุโส รางวัลนราธิป ประจำปี พ.ศ. 2550

ครูพยงค์ มุกดา ถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะและไตวายที่โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อวันที่12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 รวมอายุได้ 83 ปี


http://th.wikipedia.org

http://www.bangkokbiznews.com


วันพุธที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2553

บินหลา สันกาลาคีรี

0 ความคิดเห็น

บินหลา สันกาลาคีรี
เกิดปี พ.ศ. 2508 เป็นบุตรของครูสอนภาษาไทย ชูชาติ และอาวรณ์ ชุ่มสนิท จบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ สงขลา ด้วยความที่อยากเป็นนักหนังสือพิมพ์ ใน พ.ศ. 2527 บินหลาเอ็นทรานซ์เข้าคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้พบกับรุ่นพี่ อาทิ ศุ บุญเลี้ยง, วิวัฒน์ พันธวุฒิยานนท์ และ ผศ.ดร.กฤษฎา เกิดดี ในช่วงเวลาหนึ่งพวกเขาได้เช่าบ้านอยู่ด้วยกัน บินหลามักพูดถึงทั้งสามในฐานะพี่และเพื่อนที่มีบทบาททางความคิดต่อตัวเขา
ปี พ.ศ. 2529 จิก - ประภาส ชลศรานนท์, อั๋น - วัชระ แวววุฒินันท์ และ จุ้ย - ศุ บุญเลี้ยง
ซึ่งขณะนั้นเป็นนักร้องวงเฉลียงแล้ว ร่วมกันจัดทำนิตยสารรายเดือนชื่อ ไปยาลใหญ่ (ชื่อเดิมคือ สะดือ แต่ไม่ผ่านการอนุญาตของสันติบาล)
บินหลาซึ่งขณะนั้นเรียนอยู่ ปี 3 เป็นคนหนึ่งที่เข้าร่วมงานในฐานะพนักงานปรู๊ฟและเขียนคอลัมน์
ในเวลาไล่เลี่ยกัน เขาได้เข้าทำงานเป็นผู้สื่อข่าวสายเศรษฐกิจของหนังสือพิมพ์มติชน ประจำกระทรวงพาณิชย์
หลังจากเป็นนักข่าว 2 ปี บินหลาลาออกจากมติชนเพื่อไปเป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการนิตยสาร "ไปยาลใหญ่" เขาเคยพูดถึงไปยาลใหญ่ว่าเป็นที่ที่ทำให้เขารู้จักตัวเอง ที่นี่นอกจากผู้ก่อตั้งทั้งสามแล้ว ยังเป็นที่รวมของเด็กหนุ่ม ๆ สาว ๆ ที่ทุกวันนี้มีชื่อเสียง อาทิ 'ปราย พันแสง, เพลงดาบแม่น้ำร้อยสาย, บัวไร, โน้ต - อุดม แต้พานิช, พิง ลำพระเพลิง, โอ๊ตส์, คันถ์ชิต วณิชดิลกกุล ฯลฯ และนามปากกา บินหลา สันกาลาคีรี ก็ได้เกิดขึ้นในช่วงนี้ เขาอธิบายเหตุผลที่ใช้นามปากกานี้ว่า "เพราะอยากให้ทราบว่า ผมบินมาจากที่ไหน"
บินหลาถูกรีไทร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2532
ในปี พ.ศ. 2533 บินหลาได้กลับไปเป็นนักข่าวอีกครั้งหนึ่ง โดยประจำอยู่หนังสือพิมพ์ข่าวสด เขาทำงานที่นี่เป็นเวลา 4 ปี และลาออกเพื่อเป็นนักเขียนอาชีพเต็มตัว โดยเลือกใช้ชีวิตอยู่จังหวัดเชียงใหม่
งานเขียนชุดแรกของเขาคือรวมเรื่องสั้นฉันดื่มดวงอาทิตย์ แต่งานที่สร้างชื่อเสียงให้กับบินหลาคือบันทึกการเดินทางด้วยจักรยาน ชื่อว่า หลังอาน ทำให้บินหลาถูกพูดถึงในฐานะของนักเดินทาง นอกจากนั้นยังมีงานเขียนแนวนี้ตามมาอีกหลายเล่ม อาทิ ดื่มทะเลสาบ อาบทะเลทราย ซึ่งเป็นการเดินทางคนเดียวในประเทศอินเดีย,บินทีละหลา, รอยย่ำที่นำเราไป และ คนรักกับจักรยาน แต่เขามักปฏิเสธว่าเขาไม่ใช่นักเดินทาง การเดินทางเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตและเป็นส่วนหนึ่งของงานเขียน
งานเขียนในรูปแบบอื่น ๆ ของบินหลา รวมเรื่องสั้นชุด คิดถึงทุกปี เคยได้รับรางวัลชมเชยประเภทรวมเรื่องสั้นประจำปี 2542 จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ กรมวิชาการ, เรื่องชุด ปลาฉลามฟันหลอ ก็ถูกนำไปดัดแปลงเป็นละครเวทีหลายครั้งด้วยกัน และรวมเรื่องสั้นชุด เจ้าหงิญ ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปี พ.ศ. 2548
นอกจากนั้นเขายังเคยเขียนเพลง ญาติเยอะ ให้กับ ยุ้ย - จริยา ปรีดากูล จนเป็นที่มาของฉายา ยุ้ย ญาติเยอะมีงานเขียนบทภาพยนตร์รวมทั้งบทกวีในนามปากกาอื่นด้วย
เจ้าของรางวัลวรรณกรรมยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประเทศไทย ประจำปี 2548 กับผลงานเรื่อง “เจ้าหงิญ” ไม่ใช่เจ้าหญิง เป็นผลงานรวมเรื่องสั้นที่ 3 ของบินหลา ชื่อจริงของเขาก็คือ วุฒิชาติ ชุ่มสนิท หรือ ต้อ ถึงแม้ว่าเขาจะเรียนไม่จบคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ แต่ก็ได้ทำงานหนังสือมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์ หัวหน้ากองบรรณาธิการ และตอนนี้เขาเป็นนักเขียนแบบ full time เขียนทั้งเรื่องสั้น นิยาย วรรณกรรมเยาวชน และสารคดีท่องเที่ยว

หลายคนมักจะเคยอ่านผลงานของเขาในด้านสารคดีท่องเที่ยวมากกว่า เรื่องราวส่วนใหญ่ของเขาเกิดจากการเก็บเกี่ยวประสบการณ์การท่องเที่ยว ที่ส่วนใหญ่เกิดมาจากการใช้จักรยานเป็นพาหนะ แต่ตัวเขาเองกลับไม่เห็นว่าตัวเองนั้นเป็นนักเดินทาง ด้วยความที่เขาไม่เคยอยู่กับที่ ไม่ปลูกบ้านอยู่ มักจะเช่าบ้านอยู่เป็นส่วนใหญ่ บินหลาจึงนิยามตนเองว่า “เขานั้นเป็น Guest Writer นักเขียนผู้มีนิวาสสถานเป็น Guesthouse” นอกจากนี้ เขาคิดว่าการเขียนหนังสือเหมือนกับการได้ขึ้นภูเขา

“ผมอาจจะขึ้นเขาลูกแรกสูง 1,000 เมตร แต่พอลูกที่สองกลับสูงแค่ 200 เมตร ก็เป็นไปได้ หรือลูกที่สองคุณตั้งใจจะให้สูงสองพันเมตรจากพื้นแต่ขาหักตั้งแต่ห้าสิบเมตรแรกก็เป็นไปได้เช่นกัน ดังนั้นมันไม่ได้เป็นการการันตีเลยว่าคุณขึ้นลูกแรกได้เท่าไหร่แล้วคุณต้องขึ้นลูกที่สองได้สูงกว่านั้น ขึ้นได้ดีกว่าหรือขึ้นได้เร็วกว่า แต่อย่างน้อยคุณต้องสำนึกไว้เสมอว่า คุณเคยขึ้นพันเมตรมาแล้ว” นี่เป็นคำกล่าวเขาให้ไว้กับ Metro life

ผลงาน ฉันดื่มดวงอาทิตย์, ดวงจันทร์ที่จากไป, หลังอาน, คิดถึงทุกปี, ปลาฉลามฟันหลอ, บินทีละหลา, ดื่มทะเลสาบ อาบทะเลทราย, รอยย่ำที่นำเราไป, ทางกันดาร, เจ้าหงิญ และคนรักกับจักรยาน


http://th.wikipedia.org

วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553

สุทธิชัย หยุ่น

0 ความคิดเห็น

นายสุทธิชัย หยุ่น (เกิด 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489) เป็นนักหนังสือพิมพ์ นักเขียน และผู้ร่วมก่อตั้งหนังสือพิมพ์เดอะ เนชั่น, กรุงเทพธุรกิจ, สถานีโทรทัศน์ไอทีวีและเนชั่นแชนแนล

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง บรรณาธิการอำนวยการ เครือเนชั่น และเขียนคอลัมน์ กาแฟดำ หน้า 2 หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ทุกวันจันทร์-ศุกร์, รายการ ชีพจรโลก และชีพจรโลกวันนี้ ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี และเนชั่นแชนแนล

ประวัติ

นายสุทธิชัย เกิดในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีนที่ยากจน ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นพี่ชายของ นายเทพชัย หย่อง (ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสคนแรกของประเทศไทย) จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนแสงทองวิทยา อ.หาดใหญ่ ต่อมาเข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการในกรุงเทพมหานคร ระหว่างเรียนมีผลงานเขียน กับหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ และสยามรัฐรายวัน หลังจากเรียนจบ เข้าทำงานที่ บริษัท ดีทแฮล์ม จำกัด อยู่ 3 เดือน จึงมาทำงานเป็นล่าม ให้ผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกัน ที่เข้ามาสร้างเขื่อนผามอง จังหวัดหนองคาย เสร็จจากงานชั่วคราวนี้ จึงได้เข้ามาศึกษาต่อที่ แผนกอิสระสื่อสารมวลชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปัจจุบันคือคณะนิเทศศาสตร์) ขณะเรียนได้งานเป็นพนักงานพิสูจน์อักษร ที่บางกอกโพสต์ เมื่อปี พ.ศ. 2511 แต่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เรียนไม่จบ เพราะเวลาเรียนกับทำงานตรงกัน จึงตัดสินใจเลือกการทำงาน และต่อมา ได้เลื่อนขึ้นเป็นบรรณาธิการข่าวในประเทศ หลังจากทำงานได้เพียง 5 เดือน ทั้งที่ยังอายุน้อย และไม่มีปริญญาบัตร[1]

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2514 บางกอกโพสต์ซื้อกิจการหนังสือพิมพ์บางกอกเวิลด์ ซึ่งนายสุทธิชัยเห็นว่า เป็นการผูกขาดวงการ จึงร่วมกับ หม่อมราชวงศ์หญิงสุนิดา กิติยากร, ธรรมนูญ มหาเปารยะ และเพื่อนนักหนังสือพิมพ์ โดยการประกาศขายหุ้นแก่ประชาชนเพื่อระดมทุน จนได้เป็นเงินราว 2 ล้านบาท ในการก่อตั้งหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษฉบับแรก ที่มีคนไทยเป็นเจ้าของ ให้ชื่อว่า เดอะ วอยซ์ ออฟ เดอะ เนชั่น(เสียงแห่งประชาชาติ) ในวันที่ 1 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ต่อมา เปลี่ยนชื่อเป็น เดอะ เนชั่น รีวิว เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 หลังคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินทำการรัฐประหารเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ปีเดียวกัน และมีคำสั่งปิดหนังสือพิมพ์ในประเทศไทยทุกฉบับ จากนั้น เปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 2528

นายสุทธิชัยยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันฉบับแรกของประเทศไทย ในนาม กรุงเทพธุรกิจ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2530 นอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งในคณะผู้ร่วมดำเนินงานสถานีโทรทัศน์ไอทีวี หลังสยามทีวีได้รับสัมปทาน , สถานีโทรทัศน์เนชั่นแชนแนล และวิทยุเนชั่น

นายสุทธิชัย มีชื่อเสียง ในการเป็น คอลัมนิสต์ และพิธีกรฝีปากกล้า และ นักสัมภาษณ์ ที่มักจะต้อนผู้ถูกสัมภาษณ์ จนมุมได้บ่อยครั้ง โดยรายการที่สร้างชื่อ คือ การรายงานข่าวสงครามอ่าวเปอร์เซียในช่วงต้นปี พ.ศ. 2534 ทางไทยทีวีสีช่อง 3 และช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ต่อมาเครือเนชั่นจึงเริ่มผลิตรายการ "เนชั่น นิวส์ ทอล์ก" เป็นรายการแรก ทางช่อง 9 ซึ่งทำให้น้ำเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำลงท้าย “ครับ” เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป และมักถูกลอกเลียนอยู่บ่อยๆ ในการแสดงตลกล้อเลียนการเมือง

นายสุทธิชัย สมรสกับนางนันทวัน หยุ่น อดีตบรรณาธิการนิตยสารลลนา มีบุตรชาย คือนายปราบดา หยุ่น นักเขียน ที่ได้รับรางวัลซีไรต์ เมื่อปี พ.ศ. 2545 และบุตรสาว คือนางสาวชิมบุญ หยุ่น



วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

ดร.สนอง วรอุไร

0 ความคิดเห็น

ดร.สนอง วรอุไร ภูมิลำเนาของท่านอยู่ที่ตำบลคลองหลวงแพ่ง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา มีพี่น้องทั้งหมด ๘ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๖ บิดามารดาของท่านมีอาชีพทำสวน ทำไร่ นอกจากนี้บิดายังเป็นกำนันของตำบลคลองหลวงแพ่งและเป็นมัคนายกของวัดในละแวกบ้านด้วย ในวัยเด็ก ท่านมีหน้าที่ใส่บาตรตอนเช้าทุกวันและนำอาหารที่มารดาจัดเตรียมไปถวายพระในวันสำคัญและวันพระตามประสาชีวิตในชนบทยุคนั้น

ท่านได้รับการศึกษาเบื้องต้นจากโรงเรียนสุวรรณศิลป์ใกล้บ้าน เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบลง ท่านและพี่ๆ น้องๆ ได้ย้ายเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ อยู่บ้านที่บิดามารดาซื้อไว้ให้พี่น้องทุกคนอยู่ร่วมกัน ย่านประตูน้ำ โดยบิดามารดามิได้ย้ายมาด้วย ท่านศึกษาในโรงเรียนวัฒนศิลป์วิทยาลัยจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๘ ชีวิตท่านต้องรับผิดชอบงานส่วนตัว เช่น ซักรีดผ้าเอง และแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบงานในบ้านร่วมกับพี่ๆ น้องๆ ท่านเป็นอยู่อย่างมัธยัสถ์ อดออม และมีระเบียบ เมื่อถึงช่วงปิดเทอมก็พากันกลับไปเยี่ยมบิดามารดาเพื่อช่วยงานด้านเกษตรกรรม เช่น เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู เป็นดังนี้ตลอดมา

ดร.สนอง วรอุไร สนใจฝึกสมาธิครั้งแรกในขณะเรียนชั้นมัธยมศึกษา โดยสนทนากันระหว่างพี่ๆ น้องๆ แล้วนำมาฝึกหัดปฏิบัติเองเมื่อมีโอกาส จนถึงระดับอุดมศึกษา ท่านเลือกศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จบปริญญาตรีสาขาโรคพืช เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ แล้วไปทำงานเป็นนักวิชาการเกษตร เผยแพร่ความรู้ด้านการปลูกข้าวปลูกเห็ดแก่ประชาชนในภาคอีสานอยู่ประมาณ ๒ ปี ในระหว่างนี้ ท่านแต่งงานมีครอบครัวและได้โอนย้ายจากกรมวิชาการข้าวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาเป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ เป็นอาจารย์รุ่นบุกเบิกมหาวิทยาลัยและบุกเบิกบัณฑิตวิทยาลัยด้วย

จากนั้นปีพ.ศ. ๒๕๑๔ ท่านก็ได้เรียนจบปริญญาโทเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สาขาเชื้อรา ปีเดียวกันนั้นเอง ท่านได้รับทุนโคลัมโบไปศึกษาปริญญาเอก สาขาไวรัสวิทยา มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ นาน ๔ ปี ในระหว่างการศึกษา ท่านมิได้เดินทางกลับมาเมืองไทยเลย เพราะเรียนหนักมาก ท่านใช้เวลาว่างพักทำจิตนิ่งทุกวัน ซึ่งมีผลให้ท่านจดจำได้เร็ว เรียนเข้าใจง่าย และจบ ๔ ปีตามกำหนด

เมื่อกลับเมืองไทยในเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๑๘ และมีเวลาว่างช่วงก่อนเปิดเทอมไปสอนนักศึกษา ท่านตัดสินใจอุปสมบทเพื่อพิสูจน์สัจธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ วัดปรินายก แล้วมาฝึกวิปัสสนากรรมฐานกับพระเทพสิทธิมุนี (โชดก ปธ.๙) ที่คณะห้า วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ ท่าพระจันทร์ ในชั่วระยะเวลา ๓๐ วัน ที่ท่านปฏิบัติตามคำสอนของครูบาอาจารย์อย่างมอบกายถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา ท่านได้รับประสบการณ์ทางจิตและความก้าวหน้าในญาณอภิญญาต่างๆ มากมาย โดยหลังจากปฏิบัติได้เพียง ๑๐ วัน ท่านสามารถแยกกายกับจิตได้ และได้รับนิมนต์ไปแสดงธรรมเป็นครั้งแรกในชีวิต ณ ลานอโศก วัดมหาธาตุฯนั่นเอง

เมื่อลาสิกขาบทแล้ว วิถีชีวิตของท่านเปลี่ยนแปลงไปมาก ด้วยความคิด ด้วยคำพูด และการกระทำซึ่งถูกหล่อหลอมจากภาวนามยปัญญา ที่ได้รับจากการพัฒนาจิตวิญญาณในครั้งนั้น ท่านได้รับเชิญเป็นองค์บรรยายด้านหลักธรรม คุณธรรม จริยธรรม ตามหน่วยงานต่างๆ องค์กรต่างๆ มากมาย และหลังจากเกษียณอายุราชการที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ท่านยังเป็นอาจารย์พิเศษถวายความรู้แก่พระนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนาด้วย

ปัจจุบันท่านเป็นครูบาอาจารย์สั่งสอนธรรม โดยได้นำประสบการณ์ตรงของท่านเองมาเป็นแบบอย่าง สร้างจุดเปลี่ยนแปลงที่ดีให้กับชีวิตของคนจำนวนมาก มีกลุ่มคณะศิษย์ก่อตั้งเป็นชมรมกัลยาณธรรมช่วยกันเผยแผ่ผลงานของท่านโดยทำเป็นหนังสือหลายเล่ม เช่น ทำชีวิตให้ได้ดีและมีสุข, ยิ่งกว่าสุขเมื่อจิตเป็นอิสระ, ทางสายเอก, ตามรอยพ่อ, การใช้ชีวิตที่คุ้มค่า, มาดสดใสด้วยใจเกินร้อย, อริยมรรค นอกจากนี้ยังมีตลับเทป ซีดี และ MP3 อีกเป็นจำนวนมาก

ผลงานเรื่อง “ ทางสายเอก ” ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษโดยอาจารย์ทวีศักดิ์ คุรุจิตธรรม เพื่อให้ชาวต่างชาติได้มีโอกาสศึกษาถึงประสบการณ์การปฏิบัติธรรมและการพัฒนาจิตวิญญาณของท่านเพื่อเสริมสร้างความศรัทธาในวิชาวิปัสสนากรรมฐาน สุดยอดวิชาเอกของโลก


http://www.kanlayanatam.com/voice/dr_snong.htm

วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2553

ดร.เสรี วงษ์มณฑา

0 ความคิดเห็น

รองศาสตราจารย์ ดร.เสรี วงษ์มณฑา (เกิด: พ.ศ. 2492 ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก, ชื่อเล่น: อี๊ด) หรือที่นิยมเรียกกันว่า ดร.เสรี เป็นนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนและการตลาด เป็นหนึ่งในกลุ่มนักวิชาการที่ต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และเข้าร่วมการขับไล่ให้เขาลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และเป็นผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์รายการ เกาที่คัน ร่วมกับ รณชาติ บุตรแสนคมทุกวันศุกร์ 21.00 - 22.00 น. และ รายการคลายปม ร่วมกับ รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ทุกวันอาทิตย์ 21.00 - 22.00 น. ทางสทท.

นอกจากวงวิชาการและการศึกษาแล้ว ยังมีชื่อเสียงในฐานะนักพูด นักบรรยาย และพิธีกร รวมถึงทำงานละครหรือละครเวทีในบางโอกาส อีกทั้งยังเป็นบุคคลสาธารณะในสังคมไทยคนแรก ๆ ที่ยอมรับว่าตัวเองเป็นเกย์ โดยมีผลงานเด่นเป็นที่รู้จักกันดีคือละครเวทีเรื่อง "ฉันผู้ชายนะยะ" ในปี พ.ศ. 2530 และนำกลับมาแสดงใหม่อีกครั้งในต้นปี พ.ศ. 2553

ประวัติการศึกษา

เริ่มศึกษาระดับมัธยมที่โรงเรียนสรรพวิทยาคม อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และย้ายมาศึกษาต่อจนจบมัธยมจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จบปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) สาขาวรรณคดีอังกฤษและภาษาต่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโท Master of Arts for Teachers (English) มหาวิทยาลัยวอชิงตัน เมืองซีแอทเทิล สหรัฐอเมริกา และปริญญาโท Journalism Advertising มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น เมืองเอแวนสตัน ปริญญาเอกวารสารศาสตร์ด้านสื่อสารการเมืองจากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นอิลลินอยส์ เมืองคาร์บอนเดล


ประวัติการทำงาน

เคยเป็นคณบดีของคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นอาจารย์ทางด้านการสื่อสารและการตลาดในมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ทางธุรกิจ

เคยเป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัท เท็ด เบทส์ แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัท ฟาร์อีสแอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายตลาดบริษัท สยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ประธานกรรมการ เบ็ตเตอร์ อิมแพค คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (BIC) และประธานกรรมการบริษัท กูด คอมมิวนิเคชั่น จำกัด และ เป็น อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร

เป็นหนึ่งในผู้ร่วมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2549 รวมทั้งเคยเป็นผู้สมัครในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดูแลด้านการศึกษา (โดยมี ดร.พิจิตต รัตตกุล สมัครเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ด้วย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

ได้รับรางวัลกิตติคุณสังข์เงิน บุคคลดีเด่นด้านวิชาการของสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

 
Copyright © คนดัง | Theme by BloggerThemes & simplywp | Sponsored by BB Blogging