วันอังคารที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553

รังสรรค์ แสงสุข

อธิการบดี รังสรรค์ แสงสุข
อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง
และ
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

-
1. คุณวุฒิทางการศึกษา :

ได้รับประกาศนียบัตร/ปริญญา จากสถานศึกษา ปี พ.ศ.

  • นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2513
  • ประกาศนียบัตรชั้นสูงทางรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 2533
  • พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตทางรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 2533
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเทคโนโลยี Moscow State Aviation Institute 2540

2. ประวัติการทำงานที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง :

ตำแหน่ง หน่วยงาน ปี พ.ศ.

  • อาจารย์ตรี คณะนิติศาสตร์ 2514
  • อาจารย์โท คณะนิติศาสตร์ 2516
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะนิติศาสตร์ 2520
  • รองศาสตราจารย์ คณะนิติศาสตร์ 2524
  • ศาสตราจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ 2540
  • อธิการบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2537 - ปัจจุบัน
3. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทาน:
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปี พ.ศ.
มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก 2542
มหาวชิรมงกุฎ 2539
เหรียญจักรพรรดิมาลา 2539
ประถมาภรณ์ช้างเผือก 2536
ประถมาภรณ์มงกุฎไทย 2533

4. ตำแหน่งพิเศษที่สำคัญที่ได้รับแต่งตั้งและอื่นๆ :

ชื่อตำแหน่ง จากสถาบัน/สถานศึกษา/องค์การ ปี พ.ศ.

  • สมาชิกวุฒิสภา รัฐสภา (4 ปี) 2539 - 2543
  • กรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 2541-2544
  • ที่ปรึกษากรรมาธิการการปกครอง วุฒิสภา 2543-ปัจจุบัน
  • ที่ปรึกษาประธานวุฒิสภาฝ่ายกฎหมาย รัฐสภา 2544-ปัจจุบัน
  • ผู้ทรงคุณวุฒิประจำส่วนวิชาการสืบสวนและสอบสวนโรงเรียนนายร้อยตำรวจ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ 2544-ปัจจุบัน
  • ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ประจำคณะกรรมาธิการการตำรวจ 2544-ปัจจุบัน
  • ที่ปรึกษาสมาคมกำลังสำรองรักษาดินแดนไทย กรมรักษาดินแดน 2544-ปัจจุบัน
  • นายกสมาคมมหาวิทยาลัยรามคำแหง 2543-ปัจจุบัน
  • สมาชิกราชบัณฑิตยสถาน 2539-ปัจจุบัน
  • ประธานคณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย เม.ย. 2545-ปัจจุบัน
  • ที่ปรึกษาสมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิ.ย.2545-ปัจจุบัน

5. การดูงานต่างประเทศ :

ประชุม สัมมนาทางวิชาการ เจรจาความร่วมมือ ศึกษาและดูงานการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสถาบันการศึกษาชั้นสูง ณ ประเทศ สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน สวิสเซอร์แลนด์ ออสเตรีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ฯลฯ

6. เกียรติยศ หรือรางวัลที่เคยได้รับ:

  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเทคโนโลยี Moscow State Aviation Institute 2540

7. งานการสอน ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

  • ระดับปริญญาตรี บรรยายกระบวนวิชาต่อไปนี้ :
    • กระบวนวิชา LW 104 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป
    • กระบวนวิชา LW 206 กฎหมายอาญา 1
    • กระบวนวิชา LW 208 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได
    • กระบวนวิชา RU 100 ความรู้คู่คุณธรรม

  • ระดับปริญญาโท บรรยายพิเศษกระบวนวิชาต่อไปนี้ :-
    • กระบวนวิชา LW 644 กฎหมายเกี่ยวกับเสรีภาพมหาชน
    • กระบวนวิชา LW 646 สังคมวิทยาทางกฎหมาย
    • กระบวนวิชา PS 601 ปรัชญาเชิงศาสตร์ในรัฐศาสตร์
    • กระบวนวิชา PS 604 แนวคิดเชิงทฤษฎีในการบริหารรัฐกิจ
    • กระบวนวิชา GB 600 การจัดการและพฤติกรรมองค์กร
    • กระบวนวิชา RU 100 ความรู้คู่คุณธรรม
  • ระดับปริญญาเอก เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับปริญญาเอกของ
    คณะนิติศาสตร์จำนวน 2 คน และคณะบริหารธุรกิจจำนวน 3 คน
  • ได้รับเชิญเป็นอาจารย์บรรยายและปาฐกถาพิเศษ ณ สถาบันต่างๆ รวมทั้งในรายการวิทยุและโทรทัศน์ ฯลฯ

8. งานการบริหารที่สำคัญ ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

  • ภาระงานตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537-ปัจจุบัน
  • ผู้ริเริ่มก่อตั้งสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติส่วนภูมิภาค 14 สาขาและกำลังขยายเพิ่มขึ้น
  • ผู้ริเริ่มให้มีการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรโครงการพิเศษต่างๆในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ทั้งในส่วนกลาง
    และส่วนภูมิภาค
  • ผู้ริเริ่มให้มีการเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาเอกขึ้นในมหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ผู้ริเริ่มก่อตั้งคณะ/สำนัก/สถาบันและศูนย์ต่างๆขึ้นใหม่ 12 หน่วยงาน
  • ผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง(ฝ่ายประถม) และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง เทศบาลเมืองลพบุรี
  • ที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินการจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • ประธานกรรมการคณะกรรมการดำเนินการจัดตั้งศูนย์สารนิเทศมหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ประธานกรรมการดำเนินการจัดตั้งสถาบันภาษามหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ประธานกรรมการอำนวยการสถาบันการศึกษานานาชาติ
  • ประธานกรรมการเตรียมการจัดการเรียนการสอนในต่างประเทศ
  • ประธานกรรมการดำเนินการสอนทางไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  • ประธานกรรมการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
  • ประธานกรรมการบริหารและดำเนินงาน e – Learning
  • ประธานกรรมการคณะกรรมการบริหารโครงการเรียนการสอนสู่ชุมชนและ อบต.
  • ประธานคณะกรรมการโครงการอบรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมสู่ชุมชนเพื่อเสริมสร้างรายได้
    โดยใช้ระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียม
  • ประธานกรรมการโครงการอบรมความรู้สู่ชุมชน และ อบต.: ศูนย์กลางการศึกษาและฐานเศรษฐกิจชุมชนที่เข้มแข็ง
  • ประธานกรรมการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา

9. ผลงานทางวิชาการ : ตำรา / วิจัย และอื่นๆ

  • ประสาน บุญโสภาคย์ รังสรรค์ แสงสุข และวิศิษฐ์ ทวีเศรษฐ์.ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
    ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พระธรรมนูญ ศาลยุติธรรม.
    กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2516.
    -
  • รังสรรค์ แสงสุข. กฎหมายอาญา 2 . พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2531.
    -
  • รังสรรค์ แสงสุข และคณะ. ความรู้คู่คุณธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2544.
    -
  • รังสรรค์ แสงสุข. คำบรรยายกระบวนวิชากฎหมายอาญา 2. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2524.
    -
  • รังสรรค์ แสงสุข. คำบรรยายกระบวนวิชากฎหมายอาญา 2.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2525.
    -
  • รังสรรค์ แสงสุข. คู่มือละเมิดจัดการงานนอกสั่งลาภมิควรได้. พิมพ์ครั้งที่ 5.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2524.
    -
  • รังสรรค์ แสงสุข. โน้ตย่อคำอธิบาย ยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า ประนีประนอมยอมความ การพนันหรือขันต่อ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2515.
    -
  • รังสรรค์ แสงสุข และวิชัย สังข์ประไพ,ผู้รวบรวม.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ1-6 แก้ไขเพิ่มเติมครั้งสุดท้าย พ.ศ.2541ประมวลกฎหมายอาญาแก้ไขเพิ่มเติมครั้งสุดท้ายพ.ศ.2540. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2543.
    -
  • รังสรรค์ แสงสุข และวิชัย สังข์ประไพ,ผู้รวบรวม. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง วิธีพิจารณาความอาญา
    แก้ไขเพิ่มเติมครั้งสุดท้ายพ.ศ.2539.
    กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2543.
    -
  • วิศิษฐ์ ทวีเศรษฐ์,ประสาน บุญโสภาคย์ และรังสรรค์ แสงสุข ,ผู้รวบรวม. รวมประกาศของคณะปฏิวัติ. กรุงเทพฯ:
    มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2515.
    -
  • รังสรรค์ แสงสุข และคนอื่นๆ. รายงานกิจกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยรามคำแหง ปีพ.ศ.2539-2541. กรุงเทพฯ
    :มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2541.
    -
  • สมศักดิ์ สิงหพันธุ์ และรังสรรค์ แสงสุข .รวบรวมประมวลกฎหมายอาญา . กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2514
    -
  • รวบรวมคำบรรยายวิชาสัมมนาในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. (บรรยายโดยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์)
    -
  • รวบรวมกฎหมายสำหรับประชาชนจากการศึกษาอบรมกฎหมายสำหรับประชาชน. โดยเป็นผู้บรรยายและเรียบเรียงเอง
    2 เรื่อง คือ เรื่องละเมิด ความยาว 24 หน้า เรื่องการทำสัญญาและถ้อยคำสำนวนทางกฎหมาย ความยาว 6 หน้า
    -
  • คำบรรยายกระบวนวิชากฎหมายอาญา 2.(พิมพ์เป็นคำบรรยายสำหรับนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ครั้งแรกจำนวน
    45,000 เล่ม ปี พ.ศ. 2521 และพิมพ์ครั้งที่สอง 60,000 เล่ม ปี พ.ศ. 2523)
    -
  • รังสรรค์ แสงสุข วิจัย เรื่อง " ทางออกเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยรามคำแหง ศึกษากรณีคณะนิติศาสตร์ "
    -
  • รังสรรค์ แสงสุข วิจัย เรื่อง " การบริหารงานมหาวิทยาลัยรามคำแหงและทิศทางในอนาคต "
    -
  • รังสรรค์ แสงสุข รายงานวิจัย เรื่อง " ปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายปรามการค้าประเวณีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง "
    กรุงเทพฯ :สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม , 2536.
    -
  • ประธานงานวิจัย เรื่อง “ เหตุจูงใจในการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาของนักศึกษาปริญญาโท สาขาวิทย-บริการ
    เฉลิมพระเกียรติ ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง “
    -
  • ที่ปรึกษางานวิจัยในหัวข้อเรื่องต่อไปนี้ :-

- การสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการใช้สื่อการเรียนการสอนทางไกล ณ สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ
- ที่ปรึกษางานวิจัยนักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยรามคำแหงจำนวน 5 ราย ดังนี้

นักศึกษาปริญญาเอกคณะนิติศาสตร์ จำนวน 2 ราย
นักศึกษาปริญญาเอกคณะบริหารธุรกิจ จำนวน 3 ราย

10. ผลงานบริหารที่โดดเด่น

  • ได้พัฒนามหาวิทยาลัยรามคำแหงเจริญก้าวหน้าทุกด้านอย่างรวดเร็วและมั่นคง สร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัยและประเทศชาติ
    -
  • ผลงานการบริหารจัดการและพัฒนาศักยภาพการอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหงซึ่งมีจำนวนนักศึกษากว่าห้า
    แสนคนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ขยายการกระจายโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาอย่างกว้างไกลและ ทั่วถึงทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
    -
  • เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติส่วนภูมิภาคของมหาวิทยาลัยรามคำแหงขึ้นทั่วประเทศรวม 14 จังหวัด ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยรามคำแหงและชุมชนในท้องถิ่น ช่วยประหยัดงบประมาณแผ่นดินนับพันล้านบาท
    -
  • เป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาและจัดการเรียนการสอนทางไกลของมหาวิทยาลัย ได้นำระบบใหม่ๆและทันสมัยมาใช้ เช่น การสอนทาง
    ไกลผ่านดาวเทียม โดยใช้ระบบ Video-Conference (แบบสื่อสารสองทาง) เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศและแทบจะกล่าวได้ว่าของภูมิภาค ที่ได้ประสบความสำเร็จในการบริการการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีและปริญญาโทโดยใช้ระบบการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ทำให้มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับว่าเป็นมหาวิทยาลัยผู้นำการสอนทางไกล
    -
  • ริเริ่มให้มีการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรโครงการพิเศษต่างๆในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งประสบความสำเร็จและมีประสิทธิผลเป็นอย่างยิ่ง
    -
  • จัดการเรียนการสอนหลักสูตรโครงการพิเศษต่างๆในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือเพื่อช่วยพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนรวมทั้งความต้องการของท้องถิ่น
    -
  • ได้ดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร รวมทั้งขยายการเรียนการสอนเปิดหลักสูตรใหม่เพิ่มขึ้น ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก รวมทั้งหลักสูตรนานาชาติ และแบบ Non-degree หลักสูตรทุกระดับของมหาวิทยาลัยมีการจัด ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งสามารถตรวจสอบได้และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และได้จัดทำคู่มือการ ประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหงขึ้น
    -
  • เป็นผู้ริเริ่มให้มีการเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาเอกขึ้นในมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยเปิดสอน " หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์(เน้นการวิจัย) " สาขาวิชานิติศาสตร์ บริหารธุรกิจ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา วิจัยการศึกษา จิตวิทยาให้คำปรึกษา เทคโนโลยีการศึกษา จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ และเปิดสอนหลักสูตร
    รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต
    -
  • พัฒนามหาวิทยาลัยสู่การเป็น e-University แห่งแรกของประเทศ เป็นผู้ริเริ่มจัดบริการการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยแบบ
    e-Learning ขึ้น และได้ริเริ่มให้มีการดำเนินการบริการ e-Books ของตำรากระบวนวิชาต่างๆของมหาวิทยาลัยรามคำแหงเพื่อให้โอกาสทุกคนไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาหรือบุคคลทั่วไปสามารถ
    ศึกษาหาความรู้ค้นคว้าจาก e-Booksของมหาวิทยาลัยทางอินเทอร์เน็ต โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ รวมทั้งริเริ่มให้มี e- Journals ของมหาวิทยาลัยรามคำแหงเพื่อเสริมการเผยแพร่ความรู้แบบไร้พรหมแดน
    -
  • ได้เร่งปฏิบัติภารกิจทางวิชาการทุกๆด้านเพื่อพัฒนาเข้าสู่ระบบกลไกประกันคุณภาพการศึกษาที่เหมาะสมของมหาวิทยาลัย การประกันคุณภาพด้านบริการทางวิชาการ (ISO 9002) มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้รับการรับรองการ ประกาศคุณภาพอย่างเป็นทางการ (ISO 9002 จากผู้ตรวจสอบภายนอก) จำนวน 3 หน่วยงาน คือ สำนักหอสมุดกลาง ศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศสถาบันคอมพิวเตอร์ สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล
    -
  • เป็นผู้ริเริ่มเปิดสอนกระบวนวิชาความรู้คู่คุณธรรมแก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีและระดับปริญญาโทโดยไม่เก็บค่าหน่วยกิต เพื่อมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม
    -
  • ได้พัฒนามหาวิทยาลัยก้าวไกลในการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในการบริหารและการเรียนการสอนทุกระดับ เพื่อก้าวทันยุคโลกาภิวัตน์
    -
  • เป็นผู้ริเริ่มบริการการศึกษาแบบมหาวิทยาลัยเคลื่อนที่ (Mobile University)เป็นแห่งแรกของประเทศ เพื่อนำการศึกษาเพื่อมวลชนไปสู่หมู่บ้านและชุมชนห่างไกล ส่วนภูมิภาคให้ถึงที่
  • เป็นผู้ริเริ่มจัดสอนภาษาไทยฟรีของมหาวิทยาลัยรามคำแหงทางอินเทอร์เน็ตไปทั่วโลก ภายในหนึ่งปีมีผู้ลงทะเบียนเรียนนับแสนคน และได้รับการชื่นชมจากผู้เรียนตลอดมา นับว่าได้เผยแพร่ภาษาไทยซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ล้ำค่าของชาติไทยให้ทั่วโลกรู้จัก รวมทั้งช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย
    -
  • ผลงานการจัดตั้งคณะ สถาบันและสำนักใหม่เพิ่มขึ้นมากมาย ช่วยทำให้มีการพัฒนาบริหาร วิชาการ การวิจัย การบริการวิชาการเพื่อสังคมและด้านอื่นๆของมหาวิทยาลัยเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับสังคมและความต้องการของตลาดแรงงานเพื่อออกไปรับใช้สังคมและประเทศชาติต่อไป
    -
  • ผลงานการบริการวิชาการแก่สังคมอย่างหลากหลาย กว้างไกล และทั่วถึงทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค พัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศทุกพื้นฐานและทุกระดับการศึกษา ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ฯลฯ
    -
  • ได้นำพามหาวิทยาลัยรามคำแหงสู่ความเป็นสากล ทำให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นสถาบันมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับและสามารถ ยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆที่มีชื่อเสียงของโลก ได้มีผู้สนใจทั้งนักวิชาการชาวไทยและ ชาวต่างประเทศมาดู งานด้านวิชาการ การบริหารจัดการ การสอนทางไกล ฯลฯ ของมหาวิทยาลัยเสมอ เป็นการนำการอุดมศึกษาไทยสู่สากล และแข่งขันกับนานาชาติได้
    -
  • ผลงานการพัฒนาสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ของมหาวิทยาลัยซึ่งได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ “โครงการแมกไม้มิ่งเมือง ระดับหน้าบ้านน่ามอง” ประเภท “ มหาวิทยาลัยในสวน ” และได้รับการชื่นชมจากฯพณฯนายกรัฐมนตรี รวมทั้งแขกทุกระดับผู้มาเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยทั้งชาวไทยและต่างประเทศ บุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัย
    -
  • ขยายการบริการวิชาการแก่สังคมอย่างหลากหลายและกว้างไกล จัดทำโครงการนำความรู้ไปสู่ชุมชนทุกตำบลทั่วประเทศ โดยใช้ที่ทำการของ อบต.ทุกแห่ง หรือที่ใดที่สามารถใช้เป็นห้องเรียนได้เป็นชั้นเรียน เพื่อให้โอกาสแก่ชาวบ้านในพื้นที่ได้เพิ่มพูนความรู้ในสาขาวิชาต่างๆจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วยการสื่อสารผ่านดาวเทียมและอินเทอร์เน็ตในการถ่ายทอด
    -
  • จัดโครงการอบรมความรู้สู่ชุมชน และองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)ทั่วประเทศ โดยจัดอบรมเป็นระยะ ในหัวข้อต่างๆที่เป็นประโยชน์ และสามารถนำไปปฏิบัติได้ โดยจัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหงส่วน กลางและสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติส่วนภูมิภาค รวมทั้งที่จังหวัดอื่นๆในภูมิภาค
  • จัดตั้งศูนย์ประสานงานสถานีวิทยุบีบีซีภาคภาษาไทยกรุงลอนดอน ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อรวบรวมข่าวสารที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ติดต่อประสานงานสัมภาษณ์แหล่งข่าวต่างๆ และผลิตสารคดีสั้นฯลฯ ให้แก่สถานีวิทยุบีบีซีภาคภาษาไทยกรุงลอนดอน ซึ่งเผยแพร่ไปทั่วโลก
    -
  • เปิดเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหงเพื่อบริการนักศึกษาและบุคคลทั่วไปให้ได้รับข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ทั่วถึง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต จำนวน 5 เว็บไซต์ดังนี้ www.ru.ac.th , www.huamark.com , www.faikham.com , www.ram.eduและ www.e-ru.tv
    -
  • เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งศูนย์หนังสือขึ้นในมหาวิทยาลัยรามคำแหงซึ่งเป็นศูนย์หนังสือที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ประกอบด้วย ศูนย์หนังสือที่จำหน่ายตำราของมหาวิทยาลัยรามคำแหงและศูนย์หนังสือที่จำหน่ายตำรา หนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์ ของสำนักพิมพ์ต่าง ๆ ก่อเกิดประโยชน์ยิ่งแก่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหงและบุคคลทั่วไปจำนวนมหาศาล
    -
  • ได้ปฏิบัติภารกิจการอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยครบทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ รับใช้ประเทศชาติในการจัดการอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Copyright © คนดัง | Theme by BloggerThemes & simplywp | Sponsored by BB Blogging