วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553

พยงค์ มุกดา

นาวาตรีพยงค์ มุกดาพันธ์ หรือ ครูพยงค์ มุกดา (4 พฤษภาคม พ.ศ. 246912 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553) นักร้อง นักแสดง นักแต่งเพลง ที่มีชื่อเสียงจากการเป็นนักแต่งเพลงเป็นจำนวนมาก ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติประจำปี พ.ศ. 2534 และได้รับรางวัลนราธิป ประจำปี พ.ศ. 2550

ครูพยงค์ มุกดา หรือ นาวาตรี พยงค์ มุกดาเกิดเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2469 มีชื่อเสียงจากประพันธ์บทเพลงโด่งดังจำนวนมาก ได้รับเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ ประจำ พ.ศ. 2534 และได้รับรางวัลนราธิปประจำปี พ.ศ.2550

ครูพยงค์ มุกดา เป็นชาวราชบุรี บุตรนายแก้ว และนางบุญ มุกดา เกิดบนเรือกลางแม่น้ำแม่กลอง บริเวณตำบลท่าเสา ราชบุรี จบชั้น ป.4 โรงเรียนเทศบาลวัดราชนัดดาราม และเข้าสู่วงการจากการเป็นนักร้องวงดุริยางค์กองทัพบก โดยการสนับสนุนของครูจำปา เล้มสำราญ

ต่อมา ตั้งวงดนตรีชื่อ "วงพยงค์ มุกดา" ต่อมาได้รับพระราชทานชื่อ "วงมุกดาพันธ์" ครูพยงค์ มุกดา เคยเป็นนักร้อง นักแสดง นักจัดรายการวิทยุ เคยแสดงภาพยนตร์ เช่นเรื่อง เสน่ห์บางกอก, ไซอิ๋ว เคยอยู่ วงดุริยางค์กองทัพเรือ ผู้ประพันธ์เพลงมาร์ช สหมาร์ชราชนาวี, มาร์ชสามัคคีสี่เหล่า, นาวีบลู

ในฐานะนักแต่งเพลง ครูพยงค์ มุกดา มีผลงานทั้งเพลงลูกทุ่ง ลูกกรุง และเพลงมาร์ช ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานจากเพลง "นกขมิ้น" ขับร้องโดย ธานินทร์ อินทรเทพ "ช่อทิพย์รวงทอง" ขับร้องโดย สมยศ ทัศนพันธ์ "นางรอง" และ "รักใครไม่เท่าน้อง" ขับร้องโดย ทูล ทองใจ "ลูกนอกกฎหมาย" ขับร้องโดยศรีสอางค์ ตรีเนตร "รอพี่กลับเมืองเหนือ" ขับร้องโดยพรทิพย์ภา บูรณกิจบำรุง "เด็ดดอกรัก" ขับร้องโดย ชรินทร์ นันทนาคร และ "ฝั่งหัวใจ" ขับร้องโดย บุษยา รังสี

พยงค์ มุกดา เป็นชาวจังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของนายแก้ว และนางบุญ มุกดา เกิดบนเรือกลางแม่น้ำแม่กลองบริเวณตำบลท่าเสา จังหวัดราชบุรี จบชั้น ป.4 จากโรงเรียนเทศบาลวัดราชนัดดาราม และเข้าสู่วงการจากการเป็นนักร้องวงดุริยางค์กองทัพบก โดยการสนับสนุนของครูจำปา เล้มสำราญ ต่อมาจึงก่อตั้งวงดนตรีเป็นของตัวเองชื่อ วงพยงค์ มุกดา ซึ่งได้รับพระราชทานชื่อว่า "วงมุกดาพันธ์" และเป็นนามสกุลพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชอีกด้วย

ครูพยงค์ มุกดา มีผลงานออกมาเป็นจำนวนมาก เคนเป็นนักร้อง นักแสดง นักจัดรายการวิทยุ เคยแสดงภาพยนตร์เช่นเรื่อง เสน่ห์บางกอก, ไซอิ๋ว เคยอยู่วงดุริยางค์กองทัพเรือเป็นผู้ประพันธ์เพลงมาร์ช เช่น "สหมาร์ชราชนาวี", "มาร์ชสามัคคีสี่เหล่า", นาวีบลู

ในฐานะนักแต่งเพลง ครูพยงค์ มุกดา มีผลงานทั้งเพลงลูกทุ่ง ลูกกรุง และเพลงมาร์ช ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานจากเพลง "นกขมิ้น" (ขับร้องโดย ธานินทร์ อินทรเทพ) "ช่อทิพย์รวงทอง" (ขับร้องโดย สมยศ ทัศนพันธ์) "นางรอง" และ "รักใครไม่เท่าน้อง" (ขับร้องโดย ทูล ทองใจ) "ลูกนอกกฎหมาย" (ขับร้องโดย ศรีสอางค์ ตรีเนตร) "รอพี่กลับเมืองเหนือ" (ขับร้องโดย พรทิพย์ภา บูรกิจบำรุง) "เด็ดดอกรัก" (ขับร้องโดย ชรินทร์ นันทนาคร) และ "ฝั่งหัวใจ" ขับร้องโดย บุษยา รังสี)

ในปี พ.ศ. 2532 ครูพยงค์ ได้รับรางวัลพระราชทานในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย 2 รางวัล จากเพลง "สาวสวนแตง" (ขับร้องโดย สุรพล สมบัติเจริญ) และ "ล่องใต้" (ขับร้องโดย ชัยชนะ บุญนะโชติ) และในปี พ.ศ. 2534 ได้รับรางวัลพระราชทาน 3 รางวัล จากเพลง "ยอยศพระลอ" (ขับร้องโดย ชินกร ไกรลาศ) "น้ำตาสาวตก" (ขับร้องโดย ศรีสอางค์ ตรีเนตร) และ "ลูกทุ่งเสียงทอง" (ขับร้องโดย เพชร พนมรุ้ง)

ในปี พ.ศ. 2534 พยงค์ มุกดา ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ประพันธ์เพลงไทยสากล-เพลงลูกทุ่ง) นอกจากนี้ ลูกศิษย์ของท่านถึง 2 คน ก็ได้รับเชิดชูเป็นศิลปินแห่งชาติ เช่นกัน คือชัยชนะ บุญนะโชติ (พ.ศ. 2541) และ ชินกร ไกรลาศ (พ.ศ. 2542)

ในปี พ.ศ. 2551 ครูพยงค์ มุกดา ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินอาวุโส รางวัลนราธิป ประจำปี พ.ศ. 2550

ครูพยงค์ มุกดา ถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะและไตวายที่โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อวันที่12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 รวมอายุได้ 83 ปี


http://th.wikipedia.org

http://www.bangkokbiznews.com


1 ความคิดเห็น:

  1. ขอมอบเพลงช่อทิพย์รวงทอง ร้องโดยคุณสมยศ ทัศนพันธ์
    . . . ร้องไว้ตอนชนะประกวดแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ครั้งที่ 2

    http://plengthaiclassic.blogspot.com/2011/11/001-chor-thip-ruang-tong.html

    เพลงนี้เป็นผลงานการประพันธ์ของครูพยงค์ครับ

    ตอบลบ

 
Copyright © คนดัง | Theme by BloggerThemes & simplywp | Sponsored by BB Blogging