บินหลา สันกาลาคีรี
เกิดปี พ.ศ. 2508 เป็นบุตรของครูสอนภาษาไทย ชูชาติ และอาวรณ์ ชุ่มสนิท จบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ สงขลา ด้วยความที่อยากเป็นนักหนังสือพิมพ์ ใน พ.ศ. 2527 บินหลาเอ็นทรานซ์เข้าคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้พบกับรุ่นพี่ อาทิ ศุ บุญเลี้ยง, วิวัฒน์ พันธวุฒิยานนท์ และ ผศ.ดร.กฤษฎา เกิดดี ในช่วงเวลาหนึ่งพวกเขาได้เช่าบ้านอยู่ด้วยกัน บินหลามักพูดถึงทั้งสามในฐานะพี่และเพื่อนที่มีบทบาททางความคิดต่อตัวเขา
ปี พ.ศ. 2529 จิก - ประภาส ชลศรานนท์, อั๋น - วัชระ แวววุฒินันท์ และ จุ้ย - ศุ บุญเลี้ยง
ซึ่งขณะนั้นเป็นนักร้องวงเฉลียงแล้ว ร่วมกันจัดทำนิตยสารรายเดือนชื่อ ไปยาลใหญ่ (ชื่อเดิมคือ สะดือ แต่ไม่ผ่านการอนุญาตของสันติบาล)
บินหลาซึ่งขณะนั้นเรียนอยู่ ปี 3 เป็นคนหนึ่งที่เข้าร่วมงานในฐานะพนักงานปรู๊ฟและเขียนคอลัมน์
ในเวลาไล่เลี่ยกัน เขาได้เข้าทำงานเป็นผู้สื่อข่าวสายเศรษฐกิจของหนังสือพิมพ์มติชน ประจำกระทรวงพาณิชย์
หลังจากเป็นนักข่าว 2 ปี บินหลาลาออกจากมติชนเพื่อไปเป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการนิตยสาร "ไปยาลใหญ่" เขาเคยพูดถึงไปยาลใหญ่ว่าเป็นที่ที่ทำให้เขารู้จักตัวเอง ที่นี่นอกจากผู้ก่อตั้งทั้งสามแล้ว ยังเป็นที่รวมของเด็กหนุ่ม ๆ สาว ๆ ที่ทุกวันนี้มีชื่อเสียง อาทิ 'ปราย พันแสง, เพลงดาบแม่น้ำร้อยสาย, บัวไร, โน้ต - อุดม แต้พานิช, พิง ลำพระเพลิง, โอ๊ตส์, คันถ์ชิต วณิชดิลกกุล ฯลฯ และนามปากกา บินหลา สันกาลาคีรี ก็ได้เกิดขึ้นในช่วงนี้ เขาอธิบายเหตุผลที่ใช้นามปากกานี้ว่า "เพราะอยากให้ทราบว่า ผมบินมาจากที่ไหน"
บินหลาถูกรีไทร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2532
ในปี พ.ศ. 2533 บินหลาได้กลับไปเป็นนักข่าวอีกครั้งหนึ่ง โดยประจำอยู่หนังสือพิมพ์ข่าวสด เขาทำงานที่นี่เป็นเวลา 4 ปี และลาออกเพื่อเป็นนักเขียนอาชีพเต็มตัว โดยเลือกใช้ชีวิตอยู่จังหวัดเชียงใหม่
งานเขียนชุดแรกของเขาคือรวมเรื่องสั้นฉันดื่มดวงอาทิตย์ แต่งานที่สร้างชื่อเสียงให้กับบินหลาคือบันทึกการเดินทางด้วยจักรยาน ชื่อว่า หลังอาน ทำให้บินหลาถูกพูดถึงในฐานะของนักเดินทาง นอกจากนั้นยังมีงานเขียนแนวนี้ตามมาอีกหลายเล่ม อาทิ ดื่มทะเลสาบ อาบทะเลทราย ซึ่งเป็นการเดินทางคนเดียวในประเทศอินเดีย,บินทีละหลา, รอยย่ำที่นำเราไป และ คนรักกับจักรยาน แต่เขามักปฏิเสธว่าเขาไม่ใช่นักเดินทาง การเดินทางเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตและเป็นส่วนหนึ่งของงานเขียน
งานเขียนในรูปแบบอื่น ๆ ของบินหลา รวมเรื่องสั้นชุด คิดถึงทุกปี เคยได้รับรางวัลชมเชยประเภทรวมเรื่องสั้นประจำปี 2542 จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ กรมวิชาการ, เรื่องชุด ปลาฉลามฟันหลอ ก็ถูกนำไปดัดแปลงเป็นละครเวทีหลายครั้งด้วยกัน และรวมเรื่องสั้นชุด เจ้าหงิญ ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปี พ.ศ. 2548
นอกจากนั้นเขายังเคยเขียนเพลง ญาติเยอะ ให้กับ ยุ้ย - จริยา ปรีดากูล จนเป็นที่มาของฉายา ยุ้ย ญาติเยอะมีงานเขียนบทภาพยนตร์รวมทั้งบทกวีในนามปากกาอื่นด้วย
เจ้าของรางวัลวรรณกรรมยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประเทศไทย ประจำปี 2548 กับผลงานเรื่อง “เจ้าหงิญ” ไม่ใช่เจ้าหญิง เป็นผลงานรวมเรื่องสั้นที่ 3 ของบินหลา ชื่อจริงของเขาก็คือ วุฒิชาติ ชุ่มสนิท หรือ ต้อ ถึงแม้ว่าเขาจะเรียนไม่จบคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ แต่ก็ได้ทำงานหนังสือมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์ หัวหน้ากองบรรณาธิการ และตอนนี้เขาเป็นนักเขียนแบบ full time เขียนทั้งเรื่องสั้น นิยาย วรรณกรรมเยาวชน และสารคดีท่องเที่ยว
หลายคนมักจะเคยอ่านผลงานของเขาในด้านสารคดีท่องเที่ยวมากกว่า เรื่องราวส่วนใหญ่ของเขาเกิดจากการเก็บเกี่ยวประสบการณ์การท่องเที่ยว ที่ส่วนใหญ่เกิดมาจากการใช้จักรยานเป็นพาหนะ แต่ตัวเขาเองกลับไม่เห็นว่าตัวเองนั้นเป็นนักเดินทาง ด้วยความที่เขาไม่เคยอยู่กับที่ ไม่ปลูกบ้านอยู่ มักจะเช่าบ้านอยู่เป็นส่วนใหญ่ บินหลาจึงนิยามตนเองว่า “เขานั้นเป็น Guest Writer นักเขียนผู้มีนิวาสสถานเป็น Guesthouse” นอกจากนี้ เขาคิดว่าการเขียนหนังสือเหมือนกับการได้ขึ้นภูเขา
“ผมอาจจะขึ้นเขาลูกแรกสูง 1,000 เมตร แต่พอลูกที่สองกลับสูงแค่ 200 เมตร ก็เป็นไปได้ หรือลูกที่สองคุณตั้งใจจะให้สูงสองพันเมตรจากพื้นแต่ขาหักตั้งแต่ห้าสิบเมตรแรกก็เป็นไปได้เช่นกัน ดังนั้นมันไม่ได้เป็นการการันตีเลยว่าคุณขึ้นลูกแรกได้เท่าไหร่แล้วคุณต้องขึ้นลูกที่สองได้สูงกว่านั้น ขึ้นได้ดีกว่าหรือขึ้นได้เร็วกว่า แต่อย่างน้อยคุณต้องสำนึกไว้เสมอว่า คุณเคยขึ้นพันเมตรมาแล้ว” นี่เป็นคำกล่าวเขาให้ไว้กับ Metro life
ผลงาน ฉันดื่มดวงอาทิตย์, ดวงจันทร์ที่จากไป, หลังอาน, คิดถึงทุกปี, ปลาฉลามฟันหลอ, บินทีละหลา, ดื่มทะเลสาบ อาบทะเลทราย, รอยย่ำที่นำเราไป, ทางกันดาร, เจ้าหงิญ และคนรักกับจักรยาน
http://th.wikipedia.org
ซึ่งขณะนั้นเป็นนักร้องวงเฉลียงแล้ว ร่วมกันจัดทำนิตยสารรายเดือนชื่อ ไปยาลใหญ่ (ชื่อเดิมคือ สะดือ แต่ไม่ผ่านการอนุญาตของสันติบาล)
บินหลาซึ่งขณะนั้นเรียนอยู่ ปี 3 เป็นคนหนึ่งที่เข้าร่วมงานในฐานะพนักงานปรู๊ฟและเขียนคอลัมน์
ในเวลาไล่เลี่ยกัน เขาได้เข้าทำงานเป็นผู้สื่อข่าวสายเศรษฐกิจของหนังสือพิมพ์มติชน ประจำกระทรวงพาณิชย์
หลังจากเป็นนักข่าว 2 ปี บินหลาลาออกจากมติชนเพื่อไปเป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการนิตยสาร "ไปยาลใหญ่" เขาเคยพูดถึงไปยาลใหญ่ว่าเป็นที่ที่ทำให้เขารู้จักตัวเอง ที่นี่นอกจากผู้ก่อตั้งทั้งสามแล้ว ยังเป็นที่รวมของเด็กหนุ่ม ๆ สาว ๆ ที่ทุกวันนี้มีชื่อเสียง อาทิ 'ปราย พันแสง, เพลงดาบแม่น้ำร้อยสาย, บัวไร, โน้ต - อุดม แต้พานิช, พิง ลำพระเพลิง, โอ๊ตส์, คันถ์ชิต วณิชดิลกกุล ฯลฯ และนามปากกา บินหลา สันกาลาคีรี ก็ได้เกิดขึ้นในช่วงนี้ เขาอธิบายเหตุผลที่ใช้นามปากกานี้ว่า "เพราะอยากให้ทราบว่า ผมบินมาจากที่ไหน"
บินหลาถูกรีไทร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2532
ในปี พ.ศ. 2533 บินหลาได้กลับไปเป็นนักข่าวอีกครั้งหนึ่ง โดยประจำอยู่หนังสือพิมพ์ข่าวสด เขาทำงานที่นี่เป็นเวลา 4 ปี และลาออกเพื่อเป็นนักเขียนอาชีพเต็มตัว โดยเลือกใช้ชีวิตอยู่จังหวัดเชียงใหม่
งานเขียนชุดแรกของเขาคือรวมเรื่องสั้นฉันดื่มดวงอาทิตย์ แต่งานที่สร้างชื่อเสียงให้กับบินหลาคือบันทึกการเดินทางด้วยจักรยาน ชื่อว่า หลังอาน ทำให้บินหลาถูกพูดถึงในฐานะของนักเดินทาง นอกจากนั้นยังมีงานเขียนแนวนี้ตามมาอีกหลายเล่ม อาทิ ดื่มทะเลสาบ อาบทะเลทราย ซึ่งเป็นการเดินทางคนเดียวในประเทศอินเดีย,บินทีละหลา, รอยย่ำที่นำเราไป และ คนรักกับจักรยาน แต่เขามักปฏิเสธว่าเขาไม่ใช่นักเดินทาง การเดินทางเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตและเป็นส่วนหนึ่งของงานเขียน
งานเขียนในรูปแบบอื่น ๆ ของบินหลา รวมเรื่องสั้นชุด คิดถึงทุกปี เคยได้รับรางวัลชมเชยประเภทรวมเรื่องสั้นประจำปี 2542 จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ กรมวิชาการ, เรื่องชุด ปลาฉลามฟันหลอ ก็ถูกนำไปดัดแปลงเป็นละครเวทีหลายครั้งด้วยกัน และรวมเรื่องสั้นชุด เจ้าหงิญ ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปี พ.ศ. 2548
นอกจากนั้นเขายังเคยเขียนเพลง ญาติเยอะ ให้กับ ยุ้ย - จริยา ปรีดากูล จนเป็นที่มาของฉายา ยุ้ย ญาติเยอะมีงานเขียนบทภาพยนตร์รวมทั้งบทกวีในนามปากกาอื่นด้วย
เจ้าของรางวัลวรรณกรรมยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประเทศไทย ประจำปี 2548 กับผลงานเรื่อง “เจ้าหงิญ” ไม่ใช่เจ้าหญิง เป็นผลงานรวมเรื่องสั้นที่ 3 ของบินหลา ชื่อจริงของเขาก็คือ วุฒิชาติ ชุ่มสนิท หรือ ต้อ ถึงแม้ว่าเขาจะเรียนไม่จบคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ แต่ก็ได้ทำงานหนังสือมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์ หัวหน้ากองบรรณาธิการ และตอนนี้เขาเป็นนักเขียนแบบ full time เขียนทั้งเรื่องสั้น นิยาย วรรณกรรมเยาวชน และสารคดีท่องเที่ยว
หลายคนมักจะเคยอ่านผลงานของเขาในด้านสารคดีท่องเที่ยวมากกว่า เรื่องราวส่วนใหญ่ของเขาเกิดจากการเก็บเกี่ยวประสบการณ์การท่องเที่ยว ที่ส่วนใหญ่เกิดมาจากการใช้จักรยานเป็นพาหนะ แต่ตัวเขาเองกลับไม่เห็นว่าตัวเองนั้นเป็นนักเดินทาง ด้วยความที่เขาไม่เคยอยู่กับที่ ไม่ปลูกบ้านอยู่ มักจะเช่าบ้านอยู่เป็นส่วนใหญ่ บินหลาจึงนิยามตนเองว่า “เขานั้นเป็น Guest Writer นักเขียนผู้มีนิวาสสถานเป็น Guesthouse” นอกจากนี้ เขาคิดว่าการเขียนหนังสือเหมือนกับการได้ขึ้นภูเขา
“ผมอาจจะขึ้นเขาลูกแรกสูง 1,000 เมตร แต่พอลูกที่สองกลับสูงแค่ 200 เมตร ก็เป็นไปได้ หรือลูกที่สองคุณตั้งใจจะให้สูงสองพันเมตรจากพื้นแต่ขาหักตั้งแต่ห้าสิบเมตรแรกก็เป็นไปได้เช่นกัน ดังนั้นมันไม่ได้เป็นการการันตีเลยว่าคุณขึ้นลูกแรกได้เท่าไหร่แล้วคุณต้องขึ้นลูกที่สองได้สูงกว่านั้น ขึ้นได้ดีกว่าหรือขึ้นได้เร็วกว่า แต่อย่างน้อยคุณต้องสำนึกไว้เสมอว่า คุณเคยขึ้นพันเมตรมาแล้ว” นี่เป็นคำกล่าวเขาให้ไว้กับ Metro life
ผลงาน ฉันดื่มดวงอาทิตย์, ดวงจันทร์ที่จากไป, หลังอาน, คิดถึงทุกปี, ปลาฉลามฟันหลอ, บินทีละหลา, ดื่มทะเลสาบ อาบทะเลทราย, รอยย่ำที่นำเราไป, ทางกันดาร, เจ้าหงิญ และคนรักกับจักรยาน
http://th.wikipedia.org
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น